โคเอนไซม์ คิวเทน หรือ โคคิว 10 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ยูบิควิโนน (Ubiquinone) เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ อันจะส่งผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1957 ว่าเป็น โคเอนไซม์ที่จำเป็นตัวหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวร่วมจุดประกายการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในกระบวนการ สร้างพลังงานของไมโตคอนเดรีย แห่งเซลล์ของกล้ามเนื้อ ผู้วิจัยนำเสนอให้เข้าใจในบทบาทของ โคเอนไซม์ Q10 ได้รับรางวัล Nobel ในปี ค.ศ.1978
แล้วเราจะพบ "โคเอนไซม์ คิวเทน" จากที่ไหนบ้าง ?
จริง ๆ แล้ว ในร่างกายของคนเรามีโคเอนไซม์ คิวเทน ซึ่งสามารถสร้างได้ตามธรรมชาติ โดยจะเกิดตามเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง และตามผิวหนังชั้นกำพร้าซึ่งจะมีปริมาณลดน้อยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ก็ได้รับจากอาหารประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อวัว เครื่องในสัตว์ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ผักอย่างปวยเล้งและบรอกโคลี แต่ในระหว่างการปรุงอาหารโดยใช้อุณหภูมิสูง จะทำให้โคเอนไซม์ คิวเทนถูกทำลายไป ดังนั้น การได้รับอาหารเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
โคคิว 10 ดียังไง
1).เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง
2).ช่วยลดริ้วรอยและชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว
3).ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น ส่งผลให้หัวใจดีขึ้น ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงลดลง
4).ช่วยลดผลข้างเคียงของการใช้ยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน
2).ช่วยลดริ้วรอยและชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว
3).ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น ส่งผลให้หัวใจดีขึ้น ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงลดลง
4).ช่วยลดผลข้างเคียงของการใช้ยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน
ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ Q10 ต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
โคเอนไซม์ Q10 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นนี้ทำหน้าที่ เป็น เอนไซม์หลัก ในกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้อยู่ในรูป ของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้
โคเอนไซม์ Q10 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นนี้ทำหน้าที่ เป็น เอนไซม์หลัก ในกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้อยู่ในรูป ของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้
เนื่องจาก โคเอนไซม์ Q10 เป็นสารสำคัญที่มีส่วนร่วมในการผลิตพลังงาน จึงมักพบในอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต เพื่อสร้างพลังงานและความแข็งแรงให้กับเซลล์ รวมทั้งช่วยลดความเมื่อยล้า อีกทั้งเซลที่ต้องการพลังงานสูงก็จะต้องการ โคเอนไซม์ Q10 มากกว่าเซลที่ต้องการพลังงานน้อย จึงเป็นเหตุที่เราจะพบ โคเอนไซม์ Q10 มากในเซลหัวใจ ดังนั้นหากขาด โคเอนไซม์ Q10 มากเกินขนาด จะส่งผลให้ปริมาณเซลล์ที่ไม่ทำงานมีมาก เมื่อถึงระดับหนึ่งย่อมไม่บีบตัวทำงาน เซลล์ที่เหลือย่อมปรับตัวโดยบีบให้ถี่ขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่มีแรงสูบฉีดเลือดส่งออกไปเลี้ยงอวัยวะ ได้เป็นชีพจรที่เร็ว เราจะรู้สึกใจสั่น แต่อาจรู้สึกใจเต้นแรงก็เพราะหัวใจบีบผิดจังหวะหรือไม่ราบรื่นนั่นเอง อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะเนื่องด้วยเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย ย่อมเกิดขึ้นได้
ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการยอมรับเกี่ยวกับโคเอนไซม์ Q10 ว่าช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน มีฤทธิ์ช่วยป้องกันการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลว เรียกว่า Cardiomyopathy ( หมายถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ จนทำงานล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้เรียกว่าโรคหัวใจโตซึ่งเกิดจากการขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ แต่ประสิทธิภาพของ การทำงานกลับลดลง สูบฉีดโลหิตได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และไม่มีแรง ) จึงทำให้มีการจ่าย Q10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมากมาย ซึ่งแพทย์ไทยรู้จักการใช้ โคเอนไซม์ Q10 ป้องกันโรคหัวใจมานานหลายปีแล้ว แพทย์ในอิสราเอล ประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศใช้ โคเอนไซม์ Q10 รักษาโรคชรา โรคเรื้อรัง โรคหัวใจ ประมาณกันว่าแพทย์ได้สั่งยา โคเอนไซม์ Q10 ให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจมามากกว่า 40 ล้านคน ทั่วโลก
จากการศึกษากว่า 25 ปีในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่ทำการศึกษาล้วนมีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10 ที่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับ โคเอนไซม์ Q10 ปริมาณเพียงพอ ก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างได้ผล จากกลไกบทบาทในกล้ามเนื้อเรียบ ยังใช้ช่วยอธิบาย ในกรณีหายใจลำบาก หายใจแล้วเหนื่อย ว่าอาจมีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10 ร่วมด้วย นอกจากนี้ การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจร้อยละ 75 อยู่ในภาวะขาดโคเอนไซม์ Q10 และการที่กิน โคเอนไซม์ Q10 เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยถึงร้อยละ 91 มีอาการของโรคหัวใจดีขึ้นอย่างทันทีภายใน 30 วัน
จากผลการทดลองในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยจัดให้ผู้ป่วยได้รับ โคเอนไซม์ Q10 เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าระดับพลาสม่า โคเอนไซม์ Q10 สูงขึ้นถึง 3 เท่า ดัชนีวัดค่าความหนาผนังกล้ามเนื้อหัวใจ (systolic wall thickening score index) สูงขึ้นทั้งในส่วนของ rest and peak dobutamine stress echo โดยสูงขึ้น 12.1% และ 15.6% ตามลำดับ
ในประเทศญี่ปุ่น มีการทำวิจัยไว้ถึง 25 ชิ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70 มีอาการดีขึ้นจากโรคหัวใจ ปัจจุบันโคเอนไซม์ Q10 เป็นยาตามใบสั่งที่มีขายทั่วไป บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งสังเคราะห์และผลิตโคเอนไซม์ Q10 จำหน่ายทั่วโลก
ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ Q10 ต่อโรคความดันโลหิตสูง
โคเอนไซม์ Q10 ยังช่วยยับยั้งคอเลสเตอรอลไม่ให้จับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด ลดการเกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน บรรเทาอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอก อันเกิดจากโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ดร.คาร์ล โฟล์คเกอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัล ให้ความเชื่อถือ โคเอนไซม์ Q10 มาก เขาเชื่อว่าปัญหาของระบบหลอดเลือดหัวใจล้วนเป็นผลมาจากการขาด โคเอนไซม์ Q10
โคเอนไซม์ Q10 ยังช่วยยับยั้งคอเลสเตอรอลไม่ให้จับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด ลดการเกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน บรรเทาอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอก อันเกิดจากโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ดร.คาร์ล โฟล์คเกอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัล ให้ความเชื่อถือ โคเอนไซม์ Q10 มาก เขาเชื่อว่าปัญหาของระบบหลอดเลือดหัวใจล้วนเป็นผลมาจากการขาด โคเอนไซม์ Q10
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันในอเมริกา พบว่า โคเอนไซม์ Q10 ช่วยยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนแข็ง ของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดงหัวใจ จึงป้องกันโรคเส้นเลือดโคโรนารี่อุดตันของหัวใจด้วย และยังพบด้วยว่าการออกฤทธิ์แบบนี้แรงกว่าวิตามินอีและเบต้า แคโรทีน เสียอีก
นอกจากนี้ โคเอนไซม์ Q10 ยังจำเป็นต่อผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับโคเลสตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุดยั้งกระบวนการสร้าง โคเอนไซม์ Q10 ก่อเกิดภาวะขาดโคเอนไซม์ Q10 รุนแรง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดไขมัน (statin drug therapy) มักพบอาการข้างเคียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า (fatigue) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (myalgia) หายใจติดขัด หายใจลำบาก (dyspnea) ความจำเสื่อม (memory loss) หรืออาการชา (peripheral neuropathy) แต่เมื่อได้รับโคเอนไซม์ Q10 เพิ่มเติมในปริมาณ 240 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12-22 เดือน พบว่าโคเอนไซม์ Q10 สามารถช่วยลดอาการข้างเคียงต่างๆ อย่างได้ผลเป็นที่น่าพอใจจากเดิมที่พบว่ามีอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า 84% เหลือเพียง 16% อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดจาก 64% เหลือเพียง 6% อาการหายใจลำบาก ลดจาก 58% เหลือ 12% ความจำเสื่อมลดจาก 8% เหลือ 4% และอาการชา ลดจาก 10% เหลือ 2%5
ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของ Dr. Langsjoen ผู้ป่วยร้อยละ 51 มีอาการดีขึ้น มี Diastolic pump มากขึ้น จนหยุดยาลดความดันโลหิตได้ภายใน 4 เดือนหลังการใช้ โคเอนไซม์ Q10
ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ Q10 ต่อสมอง
การรับ โคเอนไซม์ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากใน โคเอนไซม์ Q10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย และเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
การรับ โคเอนไซม์ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากใน โคเอนไซม์ Q10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย และเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
นักวิทยาศาสตร์หลายคน เช่น ดร.เดนแฮม อาร์แมน แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสก้า เชื่อว่า โคเอมไซม์ Q10 มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคชรา โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมได้ โดยการปกป้องไมโตคอนเดรีย ซึ่งอยู่ภายในเซลล์ของร่างกาย ให้รอดพ้นจากการโจมตีของอนุมูลอิสระ เจ้าตัวร้ายที่บั่นทอนอายุของมนุษย์ทั้งหลาย จึงเป็นทางเลือกของการรักษาผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม
โคเอนไซม์ Q10 กับคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
โคเอนไซม์ Q10 มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ จึงทำให้โคเอนไซม์ Q10 เป็น potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย มีประสิทธิภาพในการช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว สามารถทำงานร่วมกับวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งได้โดยไม่รบกวนและจะเสริมฤทธิ์กันได้ จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็งอีกด้วย
โคเอนไซม์ Q10 มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ จึงทำให้โคเอนไซม์ Q10 เป็น potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย มีประสิทธิภาพในการช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว สามารถทำงานร่วมกับวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งได้โดยไม่รบกวนและจะเสริมฤทธิ์กันได้ จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็งอีกด้วย
ปริมาณ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกาย
แม้ว่าโคเอนไซม์ Q10 เป็นสารที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้นได้เอง แต่จะสร้างในปริมาณที่ลดลงเมื่ออายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ปริมาณที่ร่างกายต้องการกลับไม่ลดลง ซึ่งการสังเคราะห์ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายต้องอาศัยวิตามินถึง 7 ตัว และแร่ธาตุอีกหลายรายการ จึงไม่แปลกเลยที่โรคหัวใจจะถามหาเราในวัยกลางคน
แม้ว่าโคเอนไซม์ Q10 เป็นสารที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้นได้เอง แต่จะสร้างในปริมาณที่ลดลงเมื่ออายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ปริมาณที่ร่างกายต้องการกลับไม่ลดลง ซึ่งการสังเคราะห์ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายต้องอาศัยวิตามินถึง 7 ตัว และแร่ธาตุอีกหลายรายการ จึงไม่แปลกเลยที่โรคหัวใจจะถามหาเราในวัยกลางคน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ทำให้ปริมาณ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายลดลงได้อีก เช่นผลกระทบจากสภาพแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับยา หรือสารเคมี แม้แต่ความเครียด ก็ล้วนแต่มีผลทำให้ปริมาณโคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายลดลงทั้งสิ้น ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับ โคเอนไซม์ Q10 จากภายนอกด้วย เช่น จากอาหารเสริม หรือจากอาหารได้แก่ น้ำมันปลา สัตว์ทะเลต่างๆ และในอาหารจำพวกพืช เช่น รำข้าว บร็อกโคลี ถั่วเหลือง เป็นต้น
ผู้ที่มีปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทนลดลง
1).ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด อัลไซเมอร์ เป็นต้น
2).ภาวะที่ร่างกายมีความเครียด
3). มีการใช้งานร่างกายมากเกินไปในบางภาวะ เช่น ออกกำลังกาย การเผาผลาญที่มากผิดปกติ
4).อายุที่เพิ่มขึ้น
5).ได้รับจากมื้ออาหารน้อยเกินไป
6).การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน
1).ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด อัลไซเมอร์ เป็นต้น
2).ภาวะที่ร่างกายมีความเครียด
3). มีการใช้งานร่างกายมากเกินไปในบางภาวะ เช่น ออกกำลังกาย การเผาผลาญที่มากผิดปกติ
4).อายุที่เพิ่มขึ้น
5).ได้รับจากมื้ออาหารน้อยเกินไป
6).การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน
สรุป การได้รับ โคเอนไซม์ Q10 เพิ่มเติมเหมาะสำหรับ
-ผู้สูงอายุ และผู้ที่อายุเกิน 21 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้มีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10
-ผู้ป่วยโรคหัวใจ
-ภาวะความดันโลหิตสูง
-ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน (stroke)
-ผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน / ยาลดระดับโคเลสตอรอล
-ผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม (โรคพาร์กินสันและโรคอัลไซเมอร์)
-นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก
-ผู้สูงอายุ และผู้ที่อายุเกิน 21 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้มีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10
-ผู้ป่วยโรคหัวใจ
-ภาวะความดันโลหิตสูง
-ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน (stroke)
-ผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน / ยาลดระดับโคเลสตอรอล
-ผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม (โรคพาร์กินสันและโรคอัลไซเมอร์)
-นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น