วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สปิแนช พลัส

เสริมธาตุเหล็ก เพิ่ม โฟเลต

ธาตุเหล็ก (Iron) 
มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมากในการผลิตเฮโมโกลบิน ไมโอโกลบินและเอนไซม์บางชนิด และมีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญของ วิตามินบี โดยทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส วิตามินซี มีความสำคัญอย่างมากต่อการดูดซึมของธาตุเหล็ก แต่ วิตามินอี และสังกะสี ที่มีมากเกินไป จะขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กเสียเอง ธาตุเหล็กที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกายนั้น มักจะถูกดูดซึมเข้ากระเลือดได้เพียงแค่ 8% เท่านั้น แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ หอยกาบ หอยนางรม ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ลูกพีชแห้ง ถั่วต่างๆ ข้าวโอ๊ต กากน้ำตาล หน่อไม้ฝรั่ง ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา มะกอก กระถิน เป็นต้น

*****สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 kg. ในร่างกายจะมีธาตุเหล็กประมาณ 4 กรัม แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือประมาณ 10 – 15 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อวัน

*****ซึ่งศัตรูของธาตุเหล็ก ได้แก่ ฟอสโฟโปรตีนในไข่ และสารไฟเทตในขนมปังโฮลวีตที่ไม่ได้หมักฟู โรคจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า มีร่างกายอ่อนเพลีย ผิวพรรณดูไม่สดใส ผิวซีด

< ประโยชน์ของธาตุเหล็ก >
1.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
2.ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
3.ช่วยเสริมความต้านทานต่อการเจ็บป่วย
4.ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
5.ช่วยทำให้สีผิวพรรณดูเรียบเนียน

ป้องกันการขาดธาตุเหล็กได้อย่างไร ?
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ แกงจืดเลือดหมู ผัดถั่วงอกกับเลือดหมูและตับหมู ตับผัดขิง ผัดเปรี้ยวหวานตับ แกงคั่วสับปะรดกับหอยแมลงภู่แห้ง แกงเผ็ดฟักทองกับเลือดหมู เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่ให้วิตามินซีสูงพร้อมอาหารมื้อหลักเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของทางเดินอาหารในการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย อาหารที่ให้วิตามินซีสูงได้แก่ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม มะม่วง มะละกอ สับปะรด ฯ และผักสด เช่น ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักหวาน ผักกระโดน เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กพร้อมมื้ออาหารหลัก อันได้แก่ ชา กาแฟ นมถั่วเหลือง เป็นต้น โดยเปลี่ยนมารับประทานระหว่างมื้อแทน
4. เสริมธาตุเหล็กในประชาการที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัจจุบันกรมอนามัยได้มีมาตรการการเสริมธาตุเหล็กให้แก่เด็กวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธ์ ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน


โฟเลตคืออะไร

"โฟเลต" หรือ "กรดโฟลิก" เป็นสารอาหารที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบี ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า "โฟเลี่ยม" ซึ่งหมายถึง "ใบไม้" เพราะสารอาหารชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วไปในพืชผักชนิดต่าง ๆ

< ประโยชน์ >
*****1.โฟเลตกับความพิการทางสมองของทารกงานวิจัยที่เห็นประโยชน์ของโฟเลตอย่างชัดเจน คือ งานวิจัยเรื่องโฟเลต กับความพิการของทารกแรกคลอด ทารกที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารโฟเลตในขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้พิการทางสมอง และประสาทสูงมาก ซึ่งเราเรียกลักษณะ อาการดังกล่าวว่า "Neural Tube Defects" การขาดโฟเลตในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้แกนกลางประสาทของทารกในครรภ์เกิดความพิการได้ เพราะโฟเลตมีความจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การขาดโฟเลตในช่วงสามเดือนสุดท้าย อาจส่งผลให้การเจริญของสมองและประสาทไขสันหลังผิดปกติ และจากการศึกษาค้นคว้าจากประเทศแถบยุโรป รวมทั้งแคนาดาและอิสราเอลพบว่าอาการดังกล่าวนี้ จะลดน้อยลงถึงร้อยละ 70 ถ้าแม่ได้รับโฟเลตอย่างน้อย 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน
*****2. โฟเลตกับโรคหัวใจโรคหัวใจในที่นี้หมายรวมถึง อาการความผิดปกติต่าง ๆ ของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งการตีบตันของหลอดเลือด จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย รวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ปัจจุบันโรคหัวใจเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐอเมริกา และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งนักวิจัยได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจไว้ว่า นอกจากการเพิ่มขึ้นของ LDL ในร่างกาย ความดันโลหิตสูง
ปริมาณ HDL ในร่างกายต่ำ เบาหวาน และโรคอ้วนแล้ว เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิจัยค้นพบว่าปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นของ Homocysteine ในร่างกาย ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบในกระแสเลือด และระดับการเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อการเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองอุดตัน เพราะกรดชนิดนี้ จะทำให้เกล็ดเลือดก่อตัวเป็นลิ่มได้ง่ายขึ้น จึงสามารถรวมกันเป็นก้อน เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และนำไปสู่อาการหัวใจวายได้ในที่สุด การที่ร่างกายมีโฟลิก วิตามินบี 6 และบี 12 อย่างเพียงพอจะช่วยลดระดับของ Homocysteine ในร่างกายได้
*****3. โฟเลตกับโรคมะเร็งหลักฐานการวิจัยบางอย่างระบุว่าผู้ ที่มีระดับโฟเลตในร่างกายต่ำ มีอัตราความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคมะเร็งสูง เนื่องจากโฟเลตมีส่วนสำคัญในการสร้าง ซ่อมแซม และการทำงานของ DNA การขาดโฟเลตอาจเป็นการทำลาย DNA และนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ในที่สุด จากการศึกษาหลายครั้งปรากฏว่า การรับประทานแต่อาหารที่มีโฟเลตต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ อย่างไรก็ตามยังไม่ได้มีการระบุแน่ชัดว่าการขาดโฟเลต เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง และการศึกษาค้นคว้า ถึงผลกระทบของการรับประทานอาหารที่มีโฟเลต กับการรับประทานกรดโฟลิกในรูปวิตามินสำเร็จรูปเพื่อลดความเสี่ยง ในการเป็นมะเร็งก็ยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รับประทาน กรดโฟลิกสำเร็จรูปเพื่อป้องกันมะเร็ง จนกว่าผลการศึกษาจะออกมาอย่างแน่ชัด

<แหล่งโฟเลตที่สำคัญ >คือ

ผักใบเขียวทุกชนิดและผลไม้ เช่น คะน้า ตำลึง ดอกกุยช่าย ผักชี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ส้ม กล้วยน้ำว้า มะขามเทศ ถั่วเมล็ดแห้ง แป้งถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ นอกจากนี้ยังพบโฟเลตในตับสัตว์อีกด้วย เนื่องจากโฟเลตละลายได้ดีในน้ำมัน จึงอาจสูญหายไป ในระหว่างการปรุงและล้างอาหาร จึงควรเลือกวิธีประกอบอาหารที่ใช้น้ำน้อย ๆ เช่น ต้มหรือลวกผักในน้ำน้อย ๆ และกินน้ำต้มผักด้วย ผักนึ่งจะมีโฟเลตเหลือมากกว่าผักต้ม แต่เมล็ดถั่วต้มจะยังคงปริมาณโฟเลตไว้ได้มาก

1 ความคิดเห็น: