วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง
สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ แต่มนุษย์ต้องอาศัยวิตามินซีจากอาหารเสริมแทนเท่านั้น
วิตามินซี มีบทบาทสำคัญในการสร้าง คอลลาเจน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย
วิตามินชนิดนี้มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.)
วิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึม ธาตุเหล็ก ได้ดียิ่งขึ้น
วิตามินซีจะถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะเครียด
การขาดวิตามินซีอาจทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้
ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอยู่ที่ 60 mg. และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ประมาณ 70-96 mg.
ผู้ที่สูบบุหรี่และผู้สูงอายุ ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น
ร่างกายจะสูญเสียวิตามินซี 25 – 100 mg. ต่อการสูบบุหรี่หนึ่งมวน
ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
แหล่งที่พบวิตามินซีได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว แคนตาลูป มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ พริกไทย เป็นต้น
หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่ว บางครั้งการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 10,000 mg. ขึ้นไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย มีผื่นผิวหนัง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวคุณควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง คนไข้โรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเพราะผลตรวจอาจแปรปรวนได้
ศัตรูของวิตามินซี ได้แก่ แสง, ออกซิเจน, น้ำ, ความร้อน, การสูบบุหรี่, การปรุงอาหาร
วิตามินซีในรูปแบบของอาหารเสริม
เป็นวิตามินที่รับประทานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มีจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น แบบเม็ด แคปซูล ลูกอม เม็ดแบบแตกตัวช้า แบบผง แบบเคี้ยว น้ำเชื่อม หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกรูปแบบ
วิตามินซีบริสุทธิ์ คือรูปที่แปลงมาจากน้ำตาลเดกซ์โทรสจากข้าวโพด (แม้จะไม่มีข้าวโพดหรือเดกซ์โทรสหลงเหลืออยู่เลย)
ความแตกต่างระหว่างวิตามินซีจากธรรมชาติ หรือแบบอินทรีย์ (ออแกนิค) และกรดแอสคอร์บิกสังเคราห์โดยทั่วไป คือความยากง่ายในการย่อยและการดูดซึม ซึ่งต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละคน
อาหารเสริมวิตามินซีที่ดีที่สุดคือวิตามินซีที่ประกอบไปด้วย ไบโอฟลาโวนอยด์ เฮาเพอริดิน และรูติน (บางครั้งอาจเห็นชื่อในฉลากว่า เกลือซิตรัส)
วิตามินซีในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูลส่วนมากจะมีขนาดตั้งแต่ 100 – 1,000 mg. ส่วนในรูปแบบผงละลายน้ำจะมีขนาดประมาณ 5,000 mg. ต่อช้อนชา
ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับวิตามินซีเสริมอาหารคือ 500 – 4,000 mg.
อะซีโรลาซี (Acerola C) คือ วิตามินซีที่สกัดมาจากผลอะซีโรลาเบอร์รี่
วิตามินซีจากโรสฮิปหรือผลกุหลาบ จะมีไบโอฟลาโวนอยด์และเอนไซม์อื่นๆ ที่ช่วยให้วิตามินซีแตกตัวได้ดี ถือเป็นแหล่งของวิตามินซีตามธรรมชาติที่ดีที่สุด
advertisements

ประโยชน์ของวิตามินซีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
การรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้ผิวใส เนียน นุ่มลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ช่วยในการรักษาและป้องกันโรคหวัด
ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
ประโยชน์วิตามินซี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด
ช่วยต่อต้านการสร้างสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง)
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
ประโยชน์ของวิตามินซี ช่วยลดความดันเลือด
ช่วยลดการเกิดเส้นเลือดเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ
ช่วยต่อชีวิตให้เซลล์โดยช่วยให้โปรตีนในเซลล์เกาะเกี่ยวกันได้ดีขึ้น
ช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็ก
เป็นยาระบายตามธรรมชาติ
เพิ่มประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ช่วยลดอาการที่เป็นผลมาจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด
ช่วยเร่งให้แผลหลังผ่าตัดหายเร็วยิ่งขึ้น
ช่วยในการรักษาแผลสด แผลไหม้ให้หายเร็วยิ่งขึ้น
คำแนะนำในการรับประทานวิตามินซี
วิตามินซีจะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารในกระเพาะ และการรักษาระดับของวิตามินซีในเลือดให้สูงอยู่ตลอดเวลาถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพ จึงขอแนะนำว่าให้รับประทานพร้อมอาหารมื้อเช้าและเย็น
วิตามินซีในปริมาณสูงอาจกระทบถึงผลการตรวจเลือดรวมทั้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นหากคุณกำลังไปตรวจอย่าลืมแจ้งแพทย์ว่าคุณกำลังรับประทานวิตามินซีอยู่ เพราะการวินิจฉัยอาจเกิดการผิดพลาดได้
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรทราบว่า ค่าที่ได้จากการตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะอาจไม่ถูกต้อง หากคุณรับประทานวิตามินซีปริมาณสูง
ยารักษาโรคเบาหวาน อาจมีประสิทธิภาพด้อยลงหากรับประทานร่วมกับวิตามินซี
สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 2 หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันได้เพียงแค่รับประทานวิตามินซีวันละ 500 mg.
สำหรับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้มีเหล็กสะสมในร่างกายมาก เช่น ทาลัสซีเมีย หรือฮีโมโครมาโตซิส ไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินซีในปริมาณที่สูง – หากรับประทานวิตามินซีเกินกว่า 750 mg. ต่อวัน ควรรับประทานแมกนีเซียมเสริมด้วย เพราะช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไตได้
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะทำลายวิตามินซี เพราะฉะนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองควรรับประทานวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น
สำหรับผู้ทีรับประทานยาคุมกำเนิด ควรรับประทานวิตามินซีเพิ่มขึ้น
เพื่อให้วิตามินซีทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรให้มันได้ทำงานร่วมกันกับ ไบโอฟลาโวนอยด์ แคลเซียม แมกนีเซียม
หากคุณรับประทานยาแอสไพริน ควรรับประทานวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น เพราะแอสไพรินทำให้วิตามินซีถูกขับเร็วขึ้นถึงสามเท่า
หากคุณรับประทานโสม ควรเว้นระยะเวลา 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังรับประทานวิตามินซี
เพื่อบรรเทาอาการหวัด ควรรับประทานวิตามินซี 1,000 mg. วันละสองเวลา พบว่าจะช่วยลดระดับฮิสตามีนในเลือดลงถึงร้อยละ 40 (ฮิสตามีนเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกน้ำตาไหล)

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โคคิวเทน พลัส

โคคิวเทน พลัส
โคเอนไซม์ คิวเทน หรือ โคคิว 10 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ยูบิควิโนน (Ubiquinone) เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ อันจะส่งผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1957 ว่าเป็น โคเอนไซม์ที่จำเป็นตัวหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวร่วมจุดประกายการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในกระบวนการ สร้างพลังงานของไมโตคอนเดรีย แห่งเซลล์ของกล้ามเนื้อ ผู้วิจัยนำเสนอให้เข้าใจในบทบาทของ โคเอนไซม์ Q10 ได้รับรางวัล Nobel ในปี ค.ศ.1978
แล้วเราจะพบ "โคเอนไซม์ คิวเทน" จากที่ไหนบ้าง ?
จริง ๆ แล้ว ในร่างกายของคนเรามีโคเอนไซม์ คิวเทน ซึ่งสามารถสร้างได้ตามธรรมชาติ โดยจะเกิดตามเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง และตามผิวหนังชั้นกำพร้าซึ่งจะมีปริมาณลดน้อยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ก็ได้รับจากอาหารประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อวัว เครื่องในสัตว์ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ผักอย่างปวยเล้งและบรอกโคลี แต่ในระหว่างการปรุงอาหารโดยใช้อุณหภูมิสูง จะทำให้โคเอนไซม์ คิวเทนถูกทำลายไป ดังนั้น การได้รับอาหารเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
โคคิว 10 ดียังไง
1).เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง
2).ช่วยลดริ้วรอยและชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว
3).ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น ส่งผลให้หัวใจดีขึ้น ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงลดลง
4).ช่วยลดผลข้างเคียงของการใช้ยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน
ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ Q10 ต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
โคเอนไซม์ Q10 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นนี้ทำหน้าที่ เป็น เอนไซม์หลัก ในกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้อยู่ในรูป ของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้
เนื่องจาก โคเอนไซม์ Q10 เป็นสารสำคัญที่มีส่วนร่วมในการผลิตพลังงาน จึงมักพบในอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต เพื่อสร้างพลังงานและความแข็งแรงให้กับเซลล์ รวมทั้งช่วยลดความเมื่อยล้า อีกทั้งเซลที่ต้องการพลังงานสูงก็จะต้องการ โคเอนไซม์ Q10 มากกว่าเซลที่ต้องการพลังงานน้อย จึงเป็นเหตุที่เราจะพบ โคเอนไซม์ Q10 มากในเซลหัวใจ ดังนั้นหากขาด โคเอนไซม์ Q10 มากเกินขนาด จะส่งผลให้ปริมาณเซลล์ที่ไม่ทำงานมีมาก เมื่อถึงระดับหนึ่งย่อมไม่บีบตัวทำงาน เซลล์ที่เหลือย่อมปรับตัวโดยบีบให้ถี่ขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่มีแรงสูบฉีดเลือดส่งออกไปเลี้ยงอวัยวะ ได้เป็นชีพจรที่เร็ว เราจะรู้สึกใจสั่น แต่อาจรู้สึกใจเต้นแรงก็เพราะหัวใจบีบผิดจังหวะหรือไม่ราบรื่นนั่นเอง อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะเนื่องด้วยเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย ย่อมเกิดขึ้นได้
ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการยอมรับเกี่ยวกับโคเอนไซม์ Q10 ว่าช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน มีฤทธิ์ช่วยป้องกันการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลว เรียกว่า Cardiomyopathy ( หมายถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ จนทำงานล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้เรียกว่าโรคหัวใจโตซึ่งเกิดจากการขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ แต่ประสิทธิภาพของ การทำงานกลับลดลง สูบฉีดโลหิตได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และไม่มีแรง ) จึงทำให้มีการจ่าย Q10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมากมาย ซึ่งแพทย์ไทยรู้จักการใช้ โคเอนไซม์ Q10 ป้องกันโรคหัวใจมานานหลายปีแล้ว แพทย์ในอิสราเอล ประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศใช้ โคเอนไซม์ Q10 รักษาโรคชรา โรคเรื้อรัง โรคหัวใจ ประมาณกันว่าแพทย์ได้สั่งยา โคเอนไซม์ Q10 ให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจมามากกว่า 40 ล้านคน ทั่วโลก
จากการศึกษากว่า 25 ปีในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่ทำการศึกษาล้วนมีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10 ที่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับ โคเอนไซม์ Q10 ปริมาณเพียงพอ ก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างได้ผล จากกลไกบทบาทในกล้ามเนื้อเรียบ ยังใช้ช่วยอธิบาย ในกรณีหายใจลำบาก หายใจแล้วเหนื่อย ว่าอาจมีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10 ร่วมด้วย นอกจากนี้ การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจร้อยละ 75 อยู่ในภาวะขาดโคเอนไซม์ Q10 และการที่กิน โคเอนไซม์ Q10 เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยถึงร้อยละ 91 มีอาการของโรคหัวใจดีขึ้นอย่างทันทีภายใน 30 วัน
จากผลการทดลองในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยจัดให้ผู้ป่วยได้รับ โคเอนไซม์ Q10 เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าระดับพลาสม่า โคเอนไซม์ Q10 สูงขึ้นถึง 3 เท่า ดัชนีวัดค่าความหนาผนังกล้ามเนื้อหัวใจ (systolic wall thickening score index) สูงขึ้นทั้งในส่วนของ rest and peak dobutamine stress echo โดยสูงขึ้น 12.1% และ 15.6% ตามลำดับ
ในประเทศญี่ปุ่น มีการทำวิจัยไว้ถึง 25 ชิ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70 มีอาการดีขึ้นจากโรคหัวใจ ปัจจุบันโคเอนไซม์ Q10 เป็นยาตามใบสั่งที่มีขายทั่วไป บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งสังเคราะห์และผลิตโคเอนไซม์ Q10 จำหน่ายทั่วโลก
ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ Q10 ต่อโรคความดันโลหิตสูง
โคเอนไซม์ Q10 ยังช่วยยับยั้งคอเลสเตอรอลไม่ให้จับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด ลดการเกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน บรรเทาอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอก อันเกิดจากโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ดร.คาร์ล โฟล์คเกอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัล ให้ความเชื่อถือ โคเอนไซม์ Q10 มาก เขาเชื่อว่าปัญหาของระบบหลอดเลือดหัวใจล้วนเป็นผลมาจากการขาด โคเอนไซม์ Q10
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันในอเมริกา พบว่า โคเอนไซม์ Q10 ช่วยยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนแข็ง ของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดงหัวใจ จึงป้องกันโรคเส้นเลือดโคโรนารี่อุดตันของหัวใจด้วย และยังพบด้วยว่าการออกฤทธิ์แบบนี้แรงกว่าวิตามินอีและเบต้า แคโรทีน เสียอีก
นอกจากนี้ โคเอนไซม์ Q10 ยังจำเป็นต่อผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับโคเลสตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุดยั้งกระบวนการสร้าง โคเอนไซม์ Q10 ก่อเกิดภาวะขาดโคเอนไซม์ Q10 รุนแรง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดไขมัน (statin drug therapy) มักพบอาการข้างเคียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า (fatigue) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (myalgia) หายใจติดขัด หายใจลำบาก (dyspnea) ความจำเสื่อม (memory loss) หรืออาการชา (peripheral neuropathy) แต่เมื่อได้รับโคเอนไซม์ Q10 เพิ่มเติมในปริมาณ 240 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12-22 เดือน พบว่าโคเอนไซม์ Q10 สามารถช่วยลดอาการข้างเคียงต่างๆ อย่างได้ผลเป็นที่น่าพอใจจากเดิมที่พบว่ามีอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า 84% เหลือเพียง 16% อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดจาก 64% เหลือเพียง 6% อาการหายใจลำบาก ลดจาก 58% เหลือ 12% ความจำเสื่อมลดจาก 8% เหลือ 4% และอาการชา ลดจาก 10% เหลือ 2%5
ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของ Dr. Langsjoen ผู้ป่วยร้อยละ 51 มีอาการดีขึ้น มี Diastolic pump มากขึ้น จนหยุดยาลดความดันโลหิตได้ภายใน 4 เดือนหลังการใช้ โคเอนไซม์ Q10
ประโยชน์ของ โคเอนไซม์ Q10 ต่อสมอง
การรับ โคเอนไซม์ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากใน โคเอนไซม์ Q10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย และเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
นักวิทยาศาสตร์หลายคน เช่น ดร.เดนแฮม อาร์แมน แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสก้า เชื่อว่า โคเอมไซม์ Q10 มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคชรา โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมได้ โดยการปกป้องไมโตคอนเดรีย ซึ่งอยู่ภายในเซลล์ของร่างกาย ให้รอดพ้นจากการโจมตีของอนุมูลอิสระ เจ้าตัวร้ายที่บั่นทอนอายุของมนุษย์ทั้งหลาย จึงเป็นทางเลือกของการรักษาผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม
โคเอนไซม์ Q10 กับคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
โคเอนไซม์ Q10 มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ จึงทำให้โคเอนไซม์ Q10 เป็น potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย มีประสิทธิภาพในการช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว สามารถทำงานร่วมกับวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งได้โดยไม่รบกวนและจะเสริมฤทธิ์กันได้ จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็งอีกด้วย
ปริมาณ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกาย
แม้ว่าโคเอนไซม์ Q10 เป็นสารที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้นได้เอง แต่จะสร้างในปริมาณที่ลดลงเมื่ออายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ปริมาณที่ร่างกายต้องการกลับไม่ลดลง ซึ่งการสังเคราะห์ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายต้องอาศัยวิตามินถึง 7 ตัว และแร่ธาตุอีกหลายรายการ จึงไม่แปลกเลยที่โรคหัวใจจะถามหาเราในวัยกลางคน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ทำให้ปริมาณ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายลดลงได้อีก เช่นผลกระทบจากสภาพแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับยา หรือสารเคมี แม้แต่ความเครียด ก็ล้วนแต่มีผลทำให้ปริมาณโคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายลดลงทั้งสิ้น ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับ โคเอนไซม์ Q10 จากภายนอกด้วย เช่น จากอาหารเสริม หรือจากอาหารได้แก่ น้ำมันปลา สัตว์ทะเลต่างๆ และในอาหารจำพวกพืช เช่น รำข้าว บร็อกโคลี ถั่วเหลือง เป็นต้น
ผู้ที่มีปริมาณโคเอนไซม์ คิวเทนลดลง
1).ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด อัลไซเมอร์ เป็นต้น
2).ภาวะที่ร่างกายมีความเครียด
3). มีการใช้งานร่างกายมากเกินไปในบางภาวะ เช่น ออกกำลังกาย การเผาผลาญที่มากผิดปกติ
4).อายุที่เพิ่มขึ้น
5).ได้รับจากมื้ออาหารน้อยเกินไป
6).การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน
สรุป การได้รับ โคเอนไซม์ Q10 เพิ่มเติมเหมาะสำหรับ
-ผู้สูงอายุ และผู้ที่อายุเกิน 21 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้มีภาวะขาด โคเอนไซม์ Q10
-ผู้ป่วยโรคหัวใจ
-ภาวะความดันโลหิตสูง
-ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน (stroke)
-ผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน / ยาลดระดับโคเลสตอรอล
-ผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม (โรคพาร์กินสันและโรคอัลไซเมอร์)
-นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก

เลซิติน (Lecithin)


เลซิติน (Lecithin) ... บำรุงสมอง บำรุงตับ ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด
เลซิติน (Lecithin) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์หลากหลาย ราคาไม่แพง ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างประสิทธิภาพในเรื่องความจำ บำรุงและชะลอการเสื่อมของตับ ช่วยลดความเสี่ยงจากการอุดตันของคอเลสเตอรอลในเส้นเลือ

จริง ๆ แล้วเลซิตินนั้นร่างกายมนุษย์สามารถผลิตขึ้นได้เองที่ "ตับ" โดยสร้างจากสารตั้งต้นอย่างเช่น กรดไขมันจำเป็น และสารสำคัญอื่น ๆ อย่าง โคลีน (Choline) และอินอสซิทอล (Inositol) ถ้าหากร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้
ร่างกายสร้างสารเลซิตินได้ไม่เพียงพอ

เลซิติน (Lecithin) เป็นสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน (Choline) และอินอสซิทอล (Inositol) เลซิตินพบได้ทั่วไปทั่วร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์ แต่จะพบเลซิตินปริมาณมากที่ "สมอง" ถึง 30% ซึ่งเลซิตินมีความจำเป็นต่อขบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แหล่งของเลซิติน (Lecithin)
เลซิติน (Lecithin) พบมากใน ไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ซึ่งส่วนใหญ่อาหารที่มีเลซิตินสูง เช่น ไข่แดงก็มักจะมีคอเลสเตอรอลสูงด้วย ดังนั้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลซิตินจึงมักจะสกัดเลซิตินจากถั่วเหลือง เนื่องจากมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง และปราศจากไขมันพวกคอเลสเตอรอล

ร่างกายของเราต้องการเลซิตินวันละ 6 กรัม สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารเลซิตินเท่าใดนัก แต่ในปัจจุบันคนเราหันมาดูแลรูปร่าง ดูแลสุขภาพ เริ่มเลือกในการกินมากขึ้น จึงนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ทำให้อาจเกิดการขาดสารเลซิตินได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เลซิติน...บำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันความจำเสื่อม
โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเลซิติน (Lecithin) เป็นสารจำเป็นที่ร่างกายจะนำไปใช้เพื่อสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งช่วยในการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ และระหว่างสมองกับการสั่งงานไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้สึกเพื่อให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของสมอง

เลซิตินยังถูกนำมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน (ที่พบมากในคนสูงวัย จะมีอาการ มือสั่น การเดินการเคลื่อนไหวผิดปกติ ควบคุมการใช้กล้ามเนื้อลำบาก), โรคอัลไซเมอร์ (ความจำเสื่อม พบมากในคนสูงอายุเช่นกัน) ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาด Acetylcholine

แต่หลาย ๆ คนที่คิดจะหวังพึ่งเลซิติน (Lecithin) เพื่อช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำข้อสอบได้ดีขึ้น ต้องขอบอกตรงนี้ก่อนนะครับว่า เลซิติน (Lecithin) ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ว่าพอจะสอบหรือต้องการใช้ความจำถึงจะกินนะครับ และก็ต้องอาศัยเทคนิคในการจำอื่น ๆ ช่วยอีกด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการจำที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปนะครับ

เลซิติน...บำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ
สารสำคัญที่พบในเลซิติน คือ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเซลล์ตับ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่าง ๆ ที่มีส่วนในการทำลายตับ และยังช่วยบำรุงซ่อมแซมเซลล์ตับ และชะลอการสะสมไขมันในตับอีกด้วย

เลซิตินลดความเสี่ยงของภาวะไขมันพอกตับ เนื่องจาก โคลีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลซิติน มีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ทำให้ไขมันถูกนำไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น นอกจากนี้ Lecithin ยังมีผลในการช่วยลดคอเลสเตอรอล ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งภาวะนี้ทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบของตับ จนในที่สุดก็อาจเป็นตับแข็งได้

เลซิติน...ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด
คอเลสเตอรอล มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำ จึงไม่ละลายในเลือดด้วยเช่นกัน ทำให้มันจับตัวกันเป็นก้อน ตกตะกอนอยู่ตามผนังเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เกิดโรคสมองและหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด

Lecithin มีคุณสมบัติช่วยให้คอเลสเตอรอลและน้ำ (เลือด) รวมตัวกันได้ดีขึ้น ทำให้คอเลสเตอรอลไม่จับตัวเป็นก้อนเกาะตามผนังหลอดเลือดจนเกิดการอุดตัน ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น นอกจากนี้ เลซิตินยังมีส่วนช่วยลดการดูดซึม และเพิ่มการขับถ่ายคอเลสเตอรอลทางอุจจาระ และช่วยเพิ่มสัดส่วนของ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี ที่มีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังเส้นเลือดกลับไปทำลายที่ตับ

ประโยชน์อื่น ๆ ของ Lecithin

ป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากเลซิตินช่วยป้องกันการตกตะกอนของคอเลสเตอรอลในเลือด จึงป้องกันการจับตัวกันของไขมันเป็นก้อนนิ่ว
เลซิตินช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน เอ ดี อี และ เค ดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพราะเลซิตินจะช่วยให้ไขมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ทำให้ร่างกายจะเผาผลาญไขมันเหล่านี้ได้ดีขึ้น

อาการเมื่อรับประทานเลซิตินมากเกินไป
แม้ว่าเลซิตินจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่การรับประทานเลซิตินที่มากเกินไป ก็อาจเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายหลั่งออกมาก เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก เป็นต้น

ขนาดรับประทานที่แนะนำ

เพื่อบำรุงสมองและความจำ
วันละ 1,200 - 3,600 มิลลิกรัม

เพื่อบำรุง และลดการทำลายเซลล์ตับ
วันละ 2,400 - 3,600 มิลลิกรัม

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ดับเบิ้ลเอ็กซ์


                            
                              นิวทริไลท์ ดับเบิ้ลเอ็กซ์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินรวม / เกลือแร่รวม / สารสกัดจากพืช คือส่วนผสมของสารสกัด
ไฟโตนิวเทรียนท์หรือสารอาหารจากพืชที่ได้จากผักผลไม้และสมุนไพร ไม่เจือสีสังเคราะห์
ไม่ใช้วัตถุแต่งกลิ่นรสและวัตถุกันเสีย
วิตามินรวม 1 เม็ด ประกอบด้วย:
วิตามิน เอ (จากเบต้า-แคโรทีน และวิตามิน เอ อะซีเตต) 1,178 IU
วิตามิน ดี (จากวิตามิน ดี 3) 90 IU
วิตามิน อี (จากดี-แอลฟา โทโคฟีรอล ซัคซิเนต) 6.75 IU
แคลเซียม (จากแคลเซียม คาร์บอเนต) 165 มก.
วิตามิน ซี (จากแอสคอร์บิค แอซิด, อะเซโรลาเข้มข้น) 27 มก.
สารสกัดจากผลทับทิม 12.5 มก.
ไนอะซิน (จากไนอะซินาไมด์) 9.2 มก.
แพนโทธีนิค แอซิด (จากแคลเซียม แพนโทธีเนต) 2.7 มก.
วิตามิน บี 6 (จากไพริดอกซีน ไฮโดรคลอไรด์) 0.9 มก.
วิตามิน บี 2 (จากไรโบฟลาวิน) 0.76 มก.
วิตามิน บี 1 (จากไธอะมีน โมโนไนเตรต) 0.68 มก.
โฟลิค แอซิด 90 มคก.
ไบโอติน 67.5 มคก.
วิตามิน บี 12 0.88 มคก.
เกลือแร่รวม 1 เม็ด ประกอบด้วย:
แมกนีเซียม (จากแมกนีเซียม ออกไซด์) 132.6 มก.
แคลเซียม (จากแคลเซียม คาร์บอเนต) 75.6 มก.
ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ ดีไฮเดรต 50 มก.
อัลฟัลฟาเข้มข้น 35 มก.
บร็อคโคลี ดีไฮเดรต 23.76 มก.
สารสกัดจากใบออริกาโน 23 มก.
วอเตอร์เครส 14 มก.
ซิงค์ (จากซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลต) 6.75 มก.
แมงกานีส (จากแมงกานีส อะมิโน แอซิด คีเลต) 1.52 มก.
ผงฮอร์สเซอราดิช 1.25 มก.
คอปเปอร์ (จากคอปเปอร์ อะมิโน แอซิด คีเลต) 0.9 มก.
โมลิบดีนัม (จากโมลิบดีนัม อะมิโน แอซิด คีเลต) 72 มคก.
ไอโอดีน (จากโพแทสเซียม ไอโอไดด์) 67.5 มคก.
โครเมียม (จากโครเมียม อะมิโน แอซิด คีเลต) 58.4 มคก.
ซีลีเนียม (จากซีลีเนียม ยีสต์) 31.5 มคก.
สารสกัดจากพืช 1 เม็ด ประกอบด้วย:
แคลเซียม (จากแคลเซียม คาร์บอเนต) 113 มก.
ใบคะน้า 37.5 มก.
แมกนีเซียม (จากแมกนีเซียม ออกไซด์) 25 มก.
ผลไวลด์ บลูเบอร์รี 25 มก.
สารสกัดจากเปลือกพรุน 25 มก.
สารสกัดจากเปลือกและเมล็ดองุ่น 25 มก.
หน่อไม้ฝรั่ง 25 มก.
สารสกัดจากเปลือกแอปเปิ้ล 25 มก.
สารสกัดจากใบโรสแมรี 24.5 มก.
น้ำแครนเบอร์รี 21.76 มก.
ใบพาร์สลีย์ 12.5 มก.
สารสกัดจากใบเซจ 11.2 มก.
สารสกัดจากใบโหระพา 8 มก.
ลูทีน เอสเตอร์ (สารสกัดจากดอกดาวเรือง) 1.0 มก.
ไลโคปีน (สารสกัดจากมะเขือเทศ) 0.5 มก.
• วิตามินเอสูง ช่วยในการมองเห็น และช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย
• วิตามินบี 1 สูง มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
• วิตามินบี 2 และไนอะซินสูง ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน และไขมัน
• วิตามินบี 6 สูง มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการทำงานของระบบประสาท
• โฟเลตสูง มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
• วิตามิน 12 สูง มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
และมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
• วิตามินซี วิตามินอี และซีลีเนียมสูง มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
• แคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
• วิตามินสูง ช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส
• โครเมียมสูง ร่วมกับอินซูลินในการนำกลูโคสเข้าเซลล์


น้ำมันปลา

                    

                        ประโยชน์ของน้ำมันปลา(Fish Oil)


1. ลด ระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ดี น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันข้าวโพด และน้ำมันดอกคำฝอยมาก ผู้ชายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เมื่อให้กินปลาประมาณ 18 ออนซ์ต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงและระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น
2. ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดโดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น
3. ลดความดันโลหิต จากรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารที่ประกอบด้วยปลาหางแข็งหรือปลาทูซึ่งมี EPA ใน ปริมาณ 2.2 กรัมต่อวันสามารถลดความดันเลือดซิสโตลิกในคนไข้ที่มีโรคความดันผิดปกติทาง กรรมพันธุ์ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และทำให้เกิดโรคหัวใจในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ อาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทู ยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นระดับกลับสูงขึ้นไปเหมือนเดิมอีก ในผู้ที่มีความดันเลือดสูงในระดับปานกลาง พบว่าอาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทูลดความดันซิสโตลิกลงได้เกือบร้อยละ 10 ระดับโซเดียมในเลือดลดลง และเรนินซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สร้างในไตซึ่งมีผลมากต่อความดันเลือดนั้น ก็ทำงานได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 การศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเล็กน้อย โดยให้กินน้ำมันปลาแคปซูลเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าความดันตัวบนหรือซิสโตลิกลดลงอย่างชัดเจน
4. กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของจอตาและสมองของทารก แต่ทารกไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยจากน้ำนมแม่ โดยทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับอีกด้วย มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรบริโภคDHA อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกที่ได้รับ ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม
5. กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทซึ่งมีผลต่อ สติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง
6. คนในวัยทำงานมักประสบความเครียดอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาด DHA ใน ปริมาณที่เหมาะสม กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจะผ่านเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ของเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานดีขึ้น หากรับประทานอาหารที่มีกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สัดส่วนของ DHA ในสมองสูงขึ้น ความเครียดจะลดลงและสมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น
7. ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ โดยไม่ ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่จากการทดลองโดยการให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกแก่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ใน ประเทศญี่ปุ่น พบว่าความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการตัดสินใจและประสิทธิภาพ ระดับสูงของผู้ป่วยดีขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ DHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด
การรับประทานน้ำมันปลา
……การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกันและรักษา ภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด จึงควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งมีภาวะโคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด
……หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญเพื่อป้องกัน และลดระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือด ประการแรกคือ รับประทานโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น และมีมากในอาหารบางชนิดเช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง
……หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ควรรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันไลโนเลอิกโดยสม่ำเสมอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ควรรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับเช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สปิแนช พลัส

เสริมธาตุเหล็ก เพิ่ม โฟเลต

ธาตุเหล็ก (Iron) 
มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมากในการผลิตเฮโมโกลบิน ไมโอโกลบินและเอนไซม์บางชนิด และมีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญของ วิตามินบี โดยทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส วิตามินซี มีความสำคัญอย่างมากต่อการดูดซึมของธาตุเหล็ก แต่ วิตามินอี และสังกะสี ที่มีมากเกินไป จะขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กเสียเอง ธาตุเหล็กที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกายนั้น มักจะถูกดูดซึมเข้ากระเลือดได้เพียงแค่ 8% เท่านั้น แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ หอยกาบ หอยนางรม ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ลูกพีชแห้ง ถั่วต่างๆ ข้าวโอ๊ต กากน้ำตาล หน่อไม้ฝรั่ง ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา มะกอก กระถิน เป็นต้น

*****สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 kg. ในร่างกายจะมีธาตุเหล็กประมาณ 4 กรัม แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือประมาณ 10 – 15 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อวัน

*****ซึ่งศัตรูของธาตุเหล็ก ได้แก่ ฟอสโฟโปรตีนในไข่ และสารไฟเทตในขนมปังโฮลวีตที่ไม่ได้หมักฟู โรคจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า มีร่างกายอ่อนเพลีย ผิวพรรณดูไม่สดใส ผิวซีด

< ประโยชน์ของธาตุเหล็ก >
1.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
2.ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
3.ช่วยเสริมความต้านทานต่อการเจ็บป่วย
4.ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
5.ช่วยทำให้สีผิวพรรณดูเรียบเนียน

ป้องกันการขาดธาตุเหล็กได้อย่างไร ?
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ แกงจืดเลือดหมู ผัดถั่วงอกกับเลือดหมูและตับหมู ตับผัดขิง ผัดเปรี้ยวหวานตับ แกงคั่วสับปะรดกับหอยแมลงภู่แห้ง แกงเผ็ดฟักทองกับเลือดหมู เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่ให้วิตามินซีสูงพร้อมอาหารมื้อหลักเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของทางเดินอาหารในการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย อาหารที่ให้วิตามินซีสูงได้แก่ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม มะม่วง มะละกอ สับปะรด ฯ และผักสด เช่น ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักหวาน ผักกระโดน เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กพร้อมมื้ออาหารหลัก อันได้แก่ ชา กาแฟ นมถั่วเหลือง เป็นต้น โดยเปลี่ยนมารับประทานระหว่างมื้อแทน
4. เสริมธาตุเหล็กในประชาการที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัจจุบันกรมอนามัยได้มีมาตรการการเสริมธาตุเหล็กให้แก่เด็กวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธ์ ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน


โฟเลตคืออะไร

"โฟเลต" หรือ "กรดโฟลิก" เป็นสารอาหารที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบี ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า "โฟเลี่ยม" ซึ่งหมายถึง "ใบไม้" เพราะสารอาหารชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วไปในพืชผักชนิดต่าง ๆ

< ประโยชน์ >
*****1.โฟเลตกับความพิการทางสมองของทารกงานวิจัยที่เห็นประโยชน์ของโฟเลตอย่างชัดเจน คือ งานวิจัยเรื่องโฟเลต กับความพิการของทารกแรกคลอด ทารกที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารโฟเลตในขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้พิการทางสมอง และประสาทสูงมาก ซึ่งเราเรียกลักษณะ อาการดังกล่าวว่า "Neural Tube Defects" การขาดโฟเลตในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้แกนกลางประสาทของทารกในครรภ์เกิดความพิการได้ เพราะโฟเลตมีความจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การขาดโฟเลตในช่วงสามเดือนสุดท้าย อาจส่งผลให้การเจริญของสมองและประสาทไขสันหลังผิดปกติ และจากการศึกษาค้นคว้าจากประเทศแถบยุโรป รวมทั้งแคนาดาและอิสราเอลพบว่าอาการดังกล่าวนี้ จะลดน้อยลงถึงร้อยละ 70 ถ้าแม่ได้รับโฟเลตอย่างน้อย 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน
*****2. โฟเลตกับโรคหัวใจโรคหัวใจในที่นี้หมายรวมถึง อาการความผิดปกติต่าง ๆ ของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งการตีบตันของหลอดเลือด จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย รวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ปัจจุบันโรคหัวใจเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐอเมริกา และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งนักวิจัยได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจไว้ว่า นอกจากการเพิ่มขึ้นของ LDL ในร่างกาย ความดันโลหิตสูง
ปริมาณ HDL ในร่างกายต่ำ เบาหวาน และโรคอ้วนแล้ว เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิจัยค้นพบว่าปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นของ Homocysteine ในร่างกาย ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบในกระแสเลือด และระดับการเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อการเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองอุดตัน เพราะกรดชนิดนี้ จะทำให้เกล็ดเลือดก่อตัวเป็นลิ่มได้ง่ายขึ้น จึงสามารถรวมกันเป็นก้อน เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และนำไปสู่อาการหัวใจวายได้ในที่สุด การที่ร่างกายมีโฟลิก วิตามินบี 6 และบี 12 อย่างเพียงพอจะช่วยลดระดับของ Homocysteine ในร่างกายได้
*****3. โฟเลตกับโรคมะเร็งหลักฐานการวิจัยบางอย่างระบุว่าผู้ ที่มีระดับโฟเลตในร่างกายต่ำ มีอัตราความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคมะเร็งสูง เนื่องจากโฟเลตมีส่วนสำคัญในการสร้าง ซ่อมแซม และการทำงานของ DNA การขาดโฟเลตอาจเป็นการทำลาย DNA และนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ในที่สุด จากการศึกษาหลายครั้งปรากฏว่า การรับประทานแต่อาหารที่มีโฟเลตต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ อย่างไรก็ตามยังไม่ได้มีการระบุแน่ชัดว่าการขาดโฟเลต เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง และการศึกษาค้นคว้า ถึงผลกระทบของการรับประทานอาหารที่มีโฟเลต กับการรับประทานกรดโฟลิกในรูปวิตามินสำเร็จรูปเพื่อลดความเสี่ยง ในการเป็นมะเร็งก็ยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รับประทาน กรดโฟลิกสำเร็จรูปเพื่อป้องกันมะเร็ง จนกว่าผลการศึกษาจะออกมาอย่างแน่ชัด

<แหล่งโฟเลตที่สำคัญ >คือ

ผักใบเขียวทุกชนิดและผลไม้ เช่น คะน้า ตำลึง ดอกกุยช่าย ผักชี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ส้ม กล้วยน้ำว้า มะขามเทศ ถั่วเมล็ดแห้ง แป้งถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ นอกจากนี้ยังพบโฟเลตในตับสัตว์อีกด้วย เนื่องจากโฟเลตละลายได้ดีในน้ำมัน จึงอาจสูญหายไป ในระหว่างการปรุงและล้างอาหาร จึงควรเลือกวิธีประกอบอาหารที่ใช้น้ำน้อย ๆ เช่น ต้มหรือลวกผักในน้ำน้อย ๆ และกินน้ำต้มผักด้วย ผักนึ่งจะมีโฟเลตเหลือมากกว่าผักต้ม แต่เมล็ดถั่วต้มจะยังคงปริมาณโฟเลตไว้ได้มาก

Garlic กระเทียมอัดเม็ด

                                                 

                                                     ประโยชน์ของกระเทียม 


1.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
2.ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
3.ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
4.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
5.ประโยชน์กระเทียม ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
6.ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
7.ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
8.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
9.ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
10.ช่วยต่อต้านเนื้องอก
11.กระเทียม ประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
12.ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
13.ช่วยในการขับพิษ และสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
14.กระเทียมสรรพคุณช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
15.สารสกัดน้ำมันกระเทียม มีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
16.ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตันมีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
17.ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
18.ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
19.ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบ และไซนัส
20.ช่วยรักษาโรคไอกรน
21.สรรพคุณ กระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด
22.ช่วยรักษาโรคหลอดลม
23.ช่วยระงับกลิ่นปาก
24.ช่วยในการขับเหงื่อ
25.สรรพคุณของกระเทียมช่วยในการขับเสมหะ
26.ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
27.มีสรรพคุณช่วยในการขับลม
28.ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
29.ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
30.ช่วยรักษาโรคบิด
31.กระเทียบ สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ
32.ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
33.ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
34.ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
35.ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่างๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
36.ช่วยยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
37.ช่วยกำจัดพิษจากสารตะกั่ว
38.ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
39.ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
40.บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
41.ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยาได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสม์
42.กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี
43.ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร
44.ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง